กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เป็นปัญหาสุขภาพที่ส่งผลต่อบุคลิกภาพจนทำให้หลายๆคนขาดความมั่นใจในตัวเองจากลักษณะอาการของ ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ที่มีอาการตาปรือ ลืมตาไม่สุด ทำให้ตาไม่สดใสคล้ายมีอาการง่วงนอนอยู่ตลอดเวลา “กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง คืออะไร เกิดจากอะไร แก้ไขหรือรักษาได้อย่างไรบ้าง” สำหรับข้อสงสัยเหล่านี้ เรามีคำตอบมาให้ครับ
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงคืออะไร
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงหรือภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง คือลักษณะกล้ามเนื้อตาทำงานไม่เต็มที่ ลืมตาไม่สุด ทำให้เปลือกตาตกหรือหนังตาตกหย่อนลงมากกว่าปกติ ส่งผลทำให้เห็นตาดำไม่ครบวง หากเป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง 2 ข้างจะทำให้เหมือนคนง่วงนอนตลอดเวลา ดูเหนื่อยเพลีย กรณีกล้ามเนื้ออ่อนแรงเพียงข้างเดียว จะเห็นได้ชัดว่าตาไม่เท่ากัน เนื่องจากตาข้างที่เป็นจะตกลงมาปิดตามากกว่า
ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงยังเป็นปัญหาสุขภาพที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย บางรายเป็นตั้งแต่กำเนิด หรือบางรายอาจเป็นตอนอายุเพิ่มขึ้นนอกจากจะมีผลด้านความสวยงาม ยังเป็นปัญหาต่อบุคลิกภาพอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนั้นผู้ป่วยบางรายที่มีปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่รุนแรง เปลือกตาตกลงมากจนบังรูม่านตา ส่งผลต่อการมองเห็นทำให้เป็นปัญหาต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากอะไร
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเป็นอาการที่สามารถสังเกตได้ด้วยตนเอง จากการลืมตาไม่สุด ดูตาปรือ คล้ายตาง่วงนอน ลักษณะเปลือกตาบนปิดลงมามากกว่าปกติ มักทำให้เกิดปัญหาชั้นตาไม่เท่ากัน ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงอาจเป็นตั้งแต่กำเนิด หรือบางรายอาจเป็นตอนอายุเพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุดังนี้
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแต่กำเนิด
- กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่เป็นมาแต่กำเนิด เป็นภาวะที่เกิดจากกล้ามเนื้อตาไม่พัฒนา หรือเกิดจากภาวะที่ถ่ายทอดมาทางพันธุกรรม หรือมีความผิดปกติของเส้นประสาทสมอง ทำให้เด็กมีภาวะหนังตาตกปิดตาดำมากกว่าปกติ ตาดูปรือ ลืมตาไม่ค่อยขึ้น
- กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแต่กำเนิดหรือกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงในเด็ก อาจทำให้ตาข้างใดข้างหนึ่งมองเห็นน้อยกว่าอีกข้าง จากหนังตาตกทับดวงตา บังการมองเห็น ส่งผลให้สมองด้านนั้นไม่ได้รับการกระตุ้น จนอาจเกิดภาวะตาขี้เกียจและตาเอียงร่วมด้วย
ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่เกิดขึ้นภายหลัง
- ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น
- กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่เกิดจากการมีอายุเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผิวหนังและกล้ามเนื้อมีความหย่อนคล้อยที่เป็นไปตามวัย ทำให้โครงสร้างผิวเปลือกตาเกิดความหย่อนคล้อย กล้ามเนื้อเปลือกตาเสียความยืดหยุ่น ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง จนทำให้หนังตาตกทับตาดำมากกว่าปกติและส่งผลต่อปัญหาการมองเห็น และทำให้มีพฤติกรรมติดเลิกคิ้วเพื่อช่วยการมองเห็น จนเกิดรอยย่นบริเวณหน้าผากตามมา
- ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต
- กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ตลอดทั้งวัน หรือคนที่ใช้งานโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน โดยไม่ได้มีการพักสายตา จะทำให้กล้ามเนื้อตาอ่อนล้า เสี่ยงต่อการเกิดภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้ รวมทั้งการใส่คอนแทคเลนส์หรือขยี้ตาจนเป็นนิสัย ส่งผลให้กล้ามเนื้อตาถูกยืดออกจนเกิดโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้
- ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจารการผ่าตัดตาสองชั้นที่ผิดพลาด
- ศัลยกรรมตาสองชั้นหรือการผ่าตัดทำตาสองชั้นมีหลายเทคนิควิธี และบางเทคนิคแพทย์ต้องมีความรู้ความสามารถหรือมีประสบการณ์เพื่อป้องกันความผิดพลาด เช่น การผ่าตัดทำตาสองชั้นด้วยวิธีผูกปมไหมไม่ละลายไว้ใต้ผิวตา หากไม่ได้ศัลยกรรมโดยแพทย์วิชาชีพ อาจทำให้ปมไหมขวางการทำงานของกล้ามเนื้อตา ทำให้ดูตาปรือ รู้สึกระคายเคืองตาและยังเสี่ยงปมไหมหลุดออกจนทำให้เหลือตาสองชั้นเพียงข้างเดียว ส่งผลให้ชั้นตาดูไม่เท่ากัน
- นอกจากนั้นการศัลยกรรมตาสองชั้นหากผู้ผ่าตัดไม่ชำนาญพอ ยังอาจเกิดความผิดพลาดที่ร้ายแรง เช่น ในการผ่าตัดทำตาสองชั้นแต่เกิดความผิดพลาดผ่าตัดกระทบโดนกล้ามเนื้อตา จนส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้
- ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจากโรค MG
- ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจากโรค MG หรือ Myasthenia Gravis คือการหลั่งสารสื่อประสาทที่ผิดปกติ อาการที่พบบ่อยของผู้ป่วยโรค MG คืออาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อยกเปลือกตา ทำให้เกิดภาวะหนังตาตก ลืมตาลำบาก กลอกตาผิดปกติ มองเห็นภาพซ้อน โฟกัสภาพไม่ได้
- ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจากการเกิดอุบัติเหตุ
- ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจากการเกิดอุบัติเหตุ อาจทำให้โครงกระดูกบริเวณใบหน้าผิดไปจากเดิม จนส่งผลให้เกิดอาการหนังตาตก ลืมตาลำบาก กลอกตาผิดปกติ จนเกิดโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้เช่นกัน
หัตถการแนะนำ
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง แก้ไขกับจักษุแพทย์เฉพาะทาง จบปัญหา ตาปรือ ตาตก ชั้นตาไม่เท่ากัน ใครที่…
รีวิวที่เกี่ยวข้อง
วันนี้แอ๋มจะมาบอกเล่าประสบการณ์ หนึ่งในผู้ได้รับคัดเลือกเข้าโครงการ CSR – SHINY EYES BY MEKO ที่เมโก…
รีวิวแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง โดยหมอรสนา [คุณเมเปิ้ล] สวัสดีค่ะ วันนี้จะมาเล่าสู่กันฟังสำหรับใครที่ม…
อาการของโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
แม้หลายคนที่มีภาวะตาปรือ ตาไม่เท่ากัน ตาง่วงนอน หนังตาตกทับตาดำมากกว่าปกติ ซึ่งเป็นอาการโดยรวมของภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง แต่ไม่มั่นใจหรือไม่แน่ใจว่าเป็นลักษณะของกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงหรือไม่ สามารถพิจารณาจากพฤติกรรมเหล่านี้ เช่น
- ลืมตาไม่เต็มที่
- มีอาการลืมตาไม่ขึ้นหรือลืมตาไม่เต็มที่ กรณีเป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเพียงข้างเดียวเป็นผลทำให้เปลือกตาข้างนั้นลงมาปิดที่ขอบบนของตาดำมากกว่าอีกข้าง ชั้นตาจะไม่เท่ากัน ข้างที่เป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจะมีชั้นตาที่ใหญ่กว่าข้างที่ปกติ และยังลืมตาได้ไม่เต็มที่หรือลืมตาได้ไม่โตเท่าข้างที่ไม่มีปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
- หนังตาตก
- หนังตาตกเป็นภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่เป็นตั้งแต่กำเนิดหรือเป็นในภายหลังก็ได้ จะมีลักษณะตาตก ตาปรือตลอดเวลา เนื่องจากกล้ามเนื้อตาเปิดตาออกแรงไม่เต็มที่ บางรายอาจมีการมองเห็นผิดปกติ เพราะหนังตาตกทับดวงตาจนบดบังการมองเห็นอาจมีหนังตาตกข้างเดียว หรือสองข้าง ตาไม่เท่ากัน ชั้นตาไม่ชัดเจน
- ส่วนกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่เกิดขึ้นภายหลัง มักเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การใช้งานกล้ามเนื้อตามาเป็นเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้อตายืดออก จนไม่สามารถออกแรงเปิดตาได้เต็มที่ เปิดเปลือกตาได้ไม่สุด ทำให้หนังตาตกปิดทับตาดำมากกว่าปกติ ดวงตาดูปรือ ดูง่วง ไม่สดใส ตาดูไม่เท่ากัน
- ขยี้ตาบ่อย
- การขยี้ตาบ่อยๆที่เกิดจากอาการภูมิแพ้หรืออื่นๆ ก็เป็นพฤติกรรมหนึ่งที่ส่งผลให้เปลือกตาเกิดความหย่อนคล้อยมากกว่าปกติ ทำให้กล้ามเนื้อตายืดออก ชั้นตาอาจกลายเป็นสามชั้นหรือเปลือกตามีลักษณะรอยพับ ทำให้ดูตาปรือ อาจเป็นเฉพาะดวงตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างก็ได้
- ปัญหาเลิกหน้าผาก
- คนที่มีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เปลือกตาที่ลงมาบดบังการมองเห็นมักมีพฤติกรรมเลิกหน้าผากหรือยกหน้าผากขึ้น เพื่อยกคิ้วช่วยให้เปลือกตาไม่ลงมาบังการมองเห็น ปัญหาจากการเลิกหน้าผากนานๆยังทำให้เกิดริ้วรอยย่นถาวรบริเวณหน้าผากทำให้ดูมีอายุมากขึ้น
- เบ้าตาลึกกว่าปกติ
- คนที่มีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจะมีลักษณะเบ้าตาลึกกว่าปกติ โดยมีร่องลึกอยู่เหนือเปลือกตา ส่วนมากจะพบในผู้ที่มีอายุมาก ซึ่งคนที่มีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง จะเห็นเบ้าตาลึกที่ชัดกว่าปกติ ดูเป็นคนง่วงนอนตลอดเวลา เกิดจากไขมันใต้เปลือกตาหายไปจากตำแหน่งที่ลึก ทำให้ตาดูโหล ดูโทรมมองแล้วดูมีอายุ
- อาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่สังเกตได้อย่างชัดเจน
- ตาดูปรือเหมือนคนง่วงนอนตลอดเวลา บางรายมีชั้นตาซ้อนกันหลายชั้น
- การมองเห็นผิดปกติหรือลดลง อาจะทำให้เกิดสายตาเอียง
- มักจะเลิกหน้าผากเพื่อยกคิ้ว ช่วยในการลืมตาเพื่อทำให้มองได้ชัดมากขึ้น
- ตาดำทั้งสองข้างเปิดไม่เท่ากัน
ระดับความรุนแรงของโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงมีระดับความรุนแรงของโรคที่สามารถพิจารณาได้ 3 ระดับได้แก่ ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงระดับเริ่มต้น ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงระดับกลาง และภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงระดับรุนแรง แต่ละระดับแตกต่างกัน ดังนี้
- ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงระดับเริ่มต้น ลักษณะขอบตาบนปิดคลุมทับตาดำลงมาเกินกว่า 2 มิลลิเมตร หากน้อยกว่านี้ไม่ถือว่ามีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
- ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงระดับกลาง ลักษณะขอบตาบนจะปิดคลุมทับตาดำลงมามากกว่า 3 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 4 มิลลิเมตร
- ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงระดับรุนแรง ลักษณะขอบตาบนจะปิดคลุมทับตาดำลงมาเกินกว่า 4 มิลลิเมตร
อันตรายจากภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง มีอาการหลายระดับลักษณะอาการหรือผลกระทบที่เป็นปัญหาต่อสุขภาพก็จะรุนแรงแตกต่างกันไป หากไม่ได้รับการรักษาอันตราจากภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง มีดังนี้
- ส่งผลต่อบุคลิกภาพ
- ผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ลักษณะอาการดวงตาดูปรือ ดูคล้ายง่วงนอนตลอดเวลา ดวงตา ไม่สดใส ตาดูไม่เท่ากัน มักส่งผลต่อบุคลิกภาพ จึงทำให้ขาดความมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวัน
- เป็นปัญหาต่อสุขภาพ
- ผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง มักตาตก ขอบตาบนปิดคลุมทับตาดำ จึงจำเป็นต้องยกคิ้วเมื่อใช้สายตา อาจทำให้มีอาการปวดเมื่อยบริเวณหน้าผาก
- ผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง มักเป็นปัญหาและส่งผลต่อการมองเห็น ทัศนวิสัยการมองเห็นลดลง มองเห็นแคบ เนื่องจากหนังตาตกบดบัง
- เป็นปัญหาต่อความสวยความงาม
- อาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ลักษณะอาการที่เป็นปัญหาต่อความสวยความและทำให้เกิดริ้วรอยถาวร ได้แก่ ขอบตาบนปิดคลุมทับตาดำ จึงจำเป็นต้องยกคิ้วเพื่อทำให้การมองเห็นชัดเจนขึ้น ซึ่งนอกจากเป็นสาเหตุทำให้เกิดริ้วรอยบริเวณหน้าผาก ทำให้แต่งหน้ายากต้องใช้เวลาแล้ว ยังดูมีอายุหรือแก่กว่าวัย
รักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้อย่างไร
การรักษา “ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง” เนื่องจากกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เกิดได้จากหลายสาเหตุและระดับความรุนแรงแตกต่างกัน การรักษาหรือแก้ไขปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้หลายวิธี เช่น ใช้เทคนิคการบริหารกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง รักษาได้ด้วยการให้ยา รักษาด้วยการผ่าตัดและการผ่าตัดทำตาสองชั้น พร้อมกับแก้ไขโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงดังนี้
รักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงด้วยการบริหารกล้ามเนื้อตา
สำหรับการแก้ไขอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงด้วยการบริหาร เหมาะกับคนที่ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงในระดับต้น คือมีลักษณะขอบตาบนปิดคลุมทับตาดำลงมาเกินกว่า 2 มิลลิเมตรและไม่เกิน 3 มิลลิเมตร การบริหารทำได้ 2 วิธีควรบริหารกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงด้วย 2 วิธีต่อไปนี้เป็นประจำต่อเนื่องประมาณ 3 สัปดาห์ ช่วยลดอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนล้า ตาอ่อนแรงได้ดังนี้
- กลอกตาขึ้นบนแล้วลงล่าง กลอกตาไปทางขวา แล้วไปทางซ้าย ทำซ้ำ 2 รอบต่อวัน
- การปรับโฟกัสดวงตา โดยการใช้ปากกาหรือนิ้วมือยื่นไปด้านหน้า ให้อยู่กึ่งกลางระหว่างดวงตาทั้งสองและเลื่อนเข้าหาดวงตาช้าๆ เมื่อเห็นเป็นภาพซ้อนให้กลับไปเริ่มใหม่ ทำซ้ำ 20 รอบ วันละ 3 ครั้ง
รักษาได้ด้วยการให้ยา
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ และเกิดได้ในหลายระบบของร่างกาย หากเกิดกับตาจะทำให้มีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง มีอาการลืมตาไม่ค่อยขึ้นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงชนิดที่เรียกว่า โรค MG สามารถรักษาโดยการรับประทานยา ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงชนิดนี้ไม่ควรได้รับการผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เมื่อพบแพทย์เพื่อทำการรักษา แพทย์จะตรวจเพิ่มเติมเพื่อวินิจฉัยและทำการรักษาตามแนวทางที่ถูกต้อง
รักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงโดยการผ่าตัด
การผ่าตัดรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเพื่อปรับระดับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อยกเปลือกตา การผ่าตัดยกกล้ามเนื้อตาจะทำให้ตาเปิดโตมากขึ้น อย่างไรก็ตามการผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อตาจำเป็นต้องอาศัยจักษุแพทย์เฉพาะทาง เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในการรักษา ซึ่งส่วนใหญ่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะต้องวินิจฉัยอย่างละเอียด เพื่อเลือกวิธีที่เหมาะสมกับปัญหาของแต่ละคนให้มากที่สุด
ใครที่เหมาะสมกับการ แก้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เป็นปัญหาต่อสุขภาพและความสวยความงาม ที่ส่งผลต่อบุคลิกภาพเนื่องจากภาวะเปลือกตาตก หนังตาหย่อนลงมามาก ทำให้มีลักษณะตาปรือตลอดเวลา การศัลยกรรมเพื่อแก้ไขภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง จึงเป็นทางเลือกที่ดีและเห็นผลลัพธ์ชัดเจน เช่น การผ่าตัดดึงกล้ามเนื้อตา หรือผ่าตัดแก้ปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงไปพร้อม ๆ กับการผ่าตัดทำตาสองชั้น สำหรับคนที่เหมาะกับการแก้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ได้แก่
- ผู้ที่มีปัญหาเปลือกตาตก มีอาการตาปรือ ลืมตาได้ไม่เต็มที่
- ผู้ที่มีลักษณะเบ้าตาลึก ตั้งแต่ระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง
- ผู้ที่มีชั้นตาสองข้างไม่เท่ากัน โดยข้างที่มีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจะมีชั้นตาใหญ่กว่า เนื่องจากเปลือกตาตกลงมา ทำให้ตาทั้งสองข้างดูต่างกันอย่างชัดเจน
- ผู้ที่ต้องคอยเลิกหน้าผากเพื่อช่วยลืมตา ทำให้เห็นรอยพับหลายชั้นที่ไม่ใช่ชั้นตาปกติ หรือมีชั้นตาเป็นเส้น ๆ ซ้อนพับทับกันหลาย ๆชั้น
- ผู้ที่มีปัญหาคิ้วสูงไม่เท่ากัน หรือมีรอยย่นที่บริเวณหน้าผากมาก ๆ
การผ่าตัดทำตาสองชั้นพร้อมกับแก้ไขโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
การผ่าตัดทำตาสองชั้นแบบปกติ โดยไม่ได้ทำร่วมกับการแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง จะทำให้ได้ชั้นตาตามความต้องการและช่วยแก้ปัญหาหนังตาตกในเบื้องต้นเท่านั้น ส่วนการผ่าตัดทำตาสองชั้นพร้อมกับแก้ไขโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง จะช่วยแก้ปัญหาตาปรือ ตาง่วงนอนได้อย่างตรงจุด โดยมีการผ่าตัดลงลึกถึงระดับกล้ามเนื้อตา ให้สามารถออกแรงลืมตาได้เต็มที่ ตาไม่ปรือ ชั้นตาสวยคมชัด
ทำตาสองชั้นช่วยรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้อย่างไร
การผ่าตัดทำตาสองชั้น นอกจากเพื่อความสวยงามบนใบหน้า ยังเป็นการศัลยกรรมที่ช่วยแก้ปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงไปพร้อมๆกันได้ด้วย โดยแพทย์จะทำการผ่าตัดเพื่อรักษาภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงก่อนโดยการรักษาภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง จำเป็นต้องผ่าตัดกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ซึ่งแพทย์จะปรึกษาและแก้ไขปัญหาร่วมกับคนไข้ เนื่องจากปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน โดยการรักษาจะเป็นการปรับระดับกล้ามเนื้อตา เพื่อให้เปลือกตายกขึ้นอย่างเหมาะสม จากนั้นจะเป็นการศัลยกรรมตาสองชั้น เพื่อปรับให้รูปตาดูกลมโต สดใสขึ้น
การผ่าตัดทำตาสองชั้น ต่างจากการผ่าตัดรักษาอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงอย่างไร
1. การผ่าตัดทำตาสองชั้น
การผ่าตัดทำตาสองชั้นเป็นการกำหนดชั้นตาใหม่ขึ้นมาให้ตาดูกลมสวยขึ้น อาจจะแก้ปัญหาตาชั้นเดียว หรือชั้นตาไม่เท่ากันและช่วยแก้ปัญหาหนังตาตก สามารถตัดหนังที่เกินออกได้ ตัดไขมันบริเวณเปลือกตาที่มีมากเกินไป เพื่อทำให้มีชั้นตาที่สวยสมส่วน เป็นการปรับรูปหน้าให้สวยโดดเด่นยิ่งขึ้น
2. การผ่าตัดรักษาอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
การผ่าตัดรักษาอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เป็นการผ่าตัดที่ต้องลงลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อที่ใช้ในการลืมตาให้เปิดมากขึ้น ต้องรื้อโครงสร้างใหม่ทั้งหมด และทำการยกกล้ามเนื้อให้ได้รูป วิธีการผ่าตัดที่ลงลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อมีความซับซ้อนมากกว่าการผ่าตัดตาสองชั้น เพื่อปรับระดับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อตาให้สามารถเปิดตาได้ดีขึ้น แก้ปัญหาตาปรือ จากภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง หากรักษาร่วมกับการผ่าตัดทำตาสองชั้น หลังจากนั้นแพทย์จะกำหนดชั้นตาขึ้นมาใหม่ เพื่อช่วยให้ตาดูกลมสวยขึ้น
ข้อดีหลังแก้ปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
- ทำให้เห็นตาดำชัดขึ้น ช่วยให้มีดวงตาที่ดูกลมโต สวย สดใส
- เสริมสร้างบุคลิกภาพ ทำให้มีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น
- ช่วยให้การมองเห็นดีขึ้น มองเห็นชัดขึ้น
- กรณีผ่าตัดรักษาภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ร่วมกับการทำตาสองชั้น ทำให้มีชั้นตาที่สวยเท่ากัน
- หมดปัญหาเรื่องริ้วรอย จากการเลิกหน้าผากที่ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณหน้าผากเกร็ง และทำให้เกิดริ้วรอยตามมา
- ได้ดวงตาที่กลมโตสดใสดูเป็นธรรมชาติ
- แก้ไขปัญหาชั้นตาปรือ ตาง่วงนอน ได้อย่างเห็นผล
- ชั้นตาและดวงตาทั้งสองข้าง ใกล้เคียงกันมากขึ้น
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดรักษาภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
- งดวิตามิน อาหารเสริม ยาลดน้ำหนัก สมุนไพรทุกชนิดก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์
- งดใส่คอนแทคเลนส์ก่อนผ่าตัด 3 สัปดาห์ จนถึงหลังผ่าตัด 3 สัปดาห์
- แจ้งประวัติการแพ้ยาทุกประเภทกับแพทย์อย่างละเอียด
- หากมีอาการไอ หรือท้องผูก ควรแจ้งทางคลินิกล่วงหน้าประมาณ 3 วัน
- นอนพักผ่อนให้เพียงพอก่อนเข้ารับการผ่าตัด
- ผู้ที่มีภาวะผิดปกติก่อนผ่าตัด เช่น ตาแดง หรือกุ้งยิง ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ เพื่อให้จักษุแพทย์ประเมินก่อนผ่าตัด
- งดยาประเภท Aspirin, Ibuprofen ที่มีผลทำให้เลือดออกมากก่อนเข้ารับการผ่าตัด 1 สัปดาห์
- ในวันผ่าตัดงดการแต่งหน้า แต่งบริเวณตา
- หากมีการต่อขนตาต้องถอดออกก่อนวันผ่าตัด
- ควรสระผมมาให้เรียบร้อยก่อนผ่าตัด เพราะหลังจากผ่าตัดช่วงแรกอาจจะต้องระวังน้ำโดนแผล
การดูแลแผลหลังแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงยุ่งยากหรือไม่ ?
ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง มีอาการและความรุนแรงหลายระดับ เริ่มจากมีอาการเพียงเล็กน้อย แต่ส่งผลต่อบุคลิกภาพจนเป็นปัญหาสุขภาพส่งผลกระทบต่อการมองเห็น การรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงโดยการผ่าตัด หรือผ่าตัดทำตาสองชั้นไปพร้อม ๆ กับแก้ไขโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมและได้ผลลัพธ์ที่ดี การดูแลแผลผ่าตัดหลังแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงไม่ยุ่งยาก และทำได้ ดังนี้
- ประคบเย็นตลอดเวลาช่วง 72 ชม แรกหลังผ่าตัด จากนั้นต่อด้วยการประคบอุ่นเช้าเย็นจนตัดไหม เพราะการประคบจะช่วยให้ยุบบวมและหายเร็วขึ้น
- หลีกเลี่ยงระวังไม่ให้แผลผ่าตัดโดนน้ำ
- นอนยกศีรษะสูง 45 องศา อย่างน้อย 2 สัปดาห์
- งดใช้สายตา ช่วง 2-3 วันแรกหลังผ่าตัด
- งดการใส่คอนแทคเลนส์เป็นเวลาอย่างน้อย 2 เดือน
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือถูแผลผ่าตัดจนกว่าจะหายสนิท
- หากระหว่างวันผิวหน้ามีเหงื่อ ควรซับเหงื่อและความมันส่วนเกินบนใบหน้าออก เพื่อดูแลแผลให้แห้งสะอาด
- ล้างแผลทุกวัน วันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น
- งดแต่งหน้า โดยเฉพาะบริเวณรอบดวงตา เป็นเวลา 1 สัปดาห์
- งดการออกกำลัง การยกของหนัก จนกว่าจะตัดไหม
- งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ จนกว่าแผลจะหายดี
- รับประทานยาตามแพทย์สั่ง และพบแพทย์ตามนัด เพื่อติดตามอาการ
ขั้นตอนการผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
- แพทย์จะทำการประเมินคนไข้แต่ละราย เพื่อวางตำแหน่งที่เหมาะสมกับคนไข้
- กำหนดจุด วางแผนการกรีดตา
- จากนั้นแพทย์จะทำการทดสอบว่าได้ตำแหน่งที่พอเหมาะแล้วหรือยัง เพื่อให้ตรงตามความต้องการของคนไข้ และเพื่อให้ได้ตำแหน่งที่สมดุลของใบหน้า
- เริ่มขั้นตอนการผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
สรุป
ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแต่กำเนิด หรือภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่เกิดขึ้นภายหลัง และมีความรุนแรงหรือส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเพียงเล็กน้อย ไปจนถึงระดับที่รุนแรงมีขอบตาบนปิดคลุมทับตาดำลงมา จนเป็นปัญหาสุขภาพส่งผลต่อการมองเห็น การรักษาอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่ได้รับความนิยม ได้แก่ การผ่าตัดที่ทำร่วมกับการศัลยกรรมตาสองชั้น ที่นอกจากช่วยให้ชั้นตาโค้งสวยตามแนวขอบตา ชั้นตาคมชัด ไม่มีหนังตาเกิน ตาไม่ปรือ ตากลมโตสดใสแล้ว ในระยะยาวตาจะไม่กลับมาตกซ้ำ
คำถามน่ารู้ แก้ปัญหาคาใจ
1.ศัลยกรรมตาสองชั้นแก้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้ไหม
- การทำตาสองชั้น เป็นการศัลยกรรมเพื่อกำหนดชั้นตาใหม่ขึ้นมา อาจจะแก้ปัญหาตาชั้นเดียว หรือชั้นตาไม่เท่ากันได้เท่านั้น
- ส่วนการรักษาภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเป็นการผ่าตัดที่ต้องลงลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อที่ใช้ในการลืมตาให้เปิดมากขึ้น ต้องรื้อโครงสร้างใหม่ทั้งหมดและทำการยกกล้ามเนื้อให้ได้รูป และปรับระดับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อตาให้สามารถเปิดตาได้ดีขึ้น
- การรักษาภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจึงมักทำร่วมกับการผ่าตัดทำตาสองชั้น หรือทำไปพร้อมๆกัน
2.กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงหลังจากรักษาร่วมกับศัลยกรรมตาสองชั้น จะกลับมาเป็นอีกหรือไม่
- รักษาร่วมกับการผ่าตัดทำตาสองชั้นแล้วจะไม่กลับมาเป็นอีก แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับการดูแลตนเองร่วมด้วย
3.อาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงสังเกตได้อย่างไร
- วิธีสังเกตง่ายๆคนที่มีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงบริเวณหน้าผากมักมีรอยย่น จากการยกคิ้วอยู่ตลอดบ่อยๆ เพื่อช่วยในการมองเห็นและตาปรือคล้ายตาง่วงนอนอยู่ตลอดเวลา
4.การรักษาอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงควรทำอายุเท่าไหร่
- ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของหมอ แต่สามารถทำได้ตั้งแต่อายุ 18 ปี
5.การรักษาภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงร่วมกับการผ่าตัดทำตาสองชั้น ใช้เวลาพักฟื้นกี่วัน
- การฟื้นฟูของแต่ละบุคคลขึ้นกับสภาพร่างกายและการดูแลตนเอง หลังทำอาจมีอาการบวมหรืออาการฟกช้ำ บางรายอาจมีเลือดจางๆซึมออกมาจากแผลประมาณ 3-7 วัน
Q : กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง คืออะไร
A : กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง คือ ภาวะกล้ามเนื้อตาทำงานผิดปกติ ทำให้กล้ามเนื้อที่ใช้ยกหนังตาไม่แข็งแรง และทำงานได้ไม่เต็มที่ ไม่สามารถพยุงหนังตาชั้นตาของเราได้ เกิดได้ 2 สาเหตุ ได้แก่ กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแต่กำเนิด และกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจากที่เกิดขึ้นภายหลัง เช่น เกิดจากอายุที่มากขึ้น จากการศัลยกรรมที่ผิดพลาด หรือเกิดจากการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ
Q : รู้ได้อย่างไร มีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
A : ผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงบริเวณหน้าผากมักมีรอยย่น จากการยกคิ้วเพื่อช่วยในการมองเห็น และลืมตาไม่สุด ตาปรือ คล้ายตาง่วงนอนอยู่ตลอดเวลา
Q : ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง หากไม่รักษาอันตรายหรือไม่
A : ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง มีระดับความรุนแรงของโรค 3 ระดับ ได้แก่ ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงระดับเริ่มต้น ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงระดับกลาง และภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงระดับรุนแรง ซึ่งผลกระทบแต่ละระดับก็จะรุนแรงแตกต่างกันไป หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา อาจส่งผลกระทบและเป็นปัญหาต่อสุขภาพ ดังนี้
1. ส่งผลต่อการมองเห็น ทำให้การมองเห็นลดลงหรือการมองเห็นแคบลง
เนื่องจากหนังตาตกลงมาบดบัง
2. มีผลกระทบด้านความสวยความงาม ทำให้เกิดริ้วรอยและใบหน้าดูแก่กว่าวัย
เนื่องจากการมองเห็นที่ไม่ชัดเจน ทำให้ต้องยกคิ้วเพื่อทำให้การมองเห็นชัดเจนขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดริ้วรอยบริเวณหน้าผาก
3. ส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพ เนื่องจากผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง จะมี
ลักษณะอาการดวงตาดูปรือ ดูคล้ายง่วงนอนตลอดเวลา และตาดูไม่เท่ากัน ทำให้
ขาดความมั่นใจในการใช้ชีวิตประวัน
Q : กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง มีวิธีรักษาอย่างไร
A : การรักษาภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง สามารถทำได้ด้วยการใช้ยาและการผ่าตัด แต่การรักษาที่ให้ผลลัพธ์แน่นอน และได้รับความนิยม ได้แก่ การผ่าตัด เป็นการผ่าตัดยกกล้ามเนื้อเพื่อปรับระดับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อยกเปลือกตา และยังทำให้ตาเปิดโตมากขึ้น
Q : ทำตาสองชั้น รักษาภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้หรือไม่
A : การทำตาสองชั้นสำหรับคนที่มีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
1. กรณีกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงไม่มาก การผ่าตัดทำตาสองชั้นเป็นการกำหนดชั้น
ตาใหม่ขึ้นมาให้ตาดูกลมสวยขึ้น กรณีระดับความอ่อนแรงของกล้ามเนื้อไม่มาก สามารถทำตาสองชั้นปกติได้โดยไม่ต้องรักษาภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
2. การทำตาสองชั้น พร้อมรักษาภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง การผ่าตัดรักษา
อาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เป็นการผ่าตัดที่ต้องลงลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อที่ใช้ในการลืมตาเพื่อแก้ปัญหาตาปรือ การทำตาสองชั้นไปพร้อม ๆ กับการรักษาภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง แพทย์จะกำหนดชั้นตาขึ้นมาใหม่ นอกจากได้ชั้นตายัง ช่วยให้ตาดูกลมสวยขึ้น